THE 9THMALAYSIAKOI SHOW& CHAMPIONSHIP
June 12 & 13, 2010
หลังจากกลับมาเขาก็เร่งให้เขียนบทความ ก็เพิ่งจะว่างจากงานหลวงมาเขียนบทความนี่แหละครับ
หากช้าไปหน่อยก็อย่าว่ากันนะครับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
โดยในครั้งนี้ผมรับอาสาเขียนบทความเกี่ยวกับการตัดสินในงานประกวดครั้งนี้ครับ มาเิ่ริ่มกันเลยนะครับ
หากช้าไปหน่อยก็อย่าว่ากันนะครับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
โดยในครั้งนี้ผมรับอาสาเขียนบทความเกี่ยวกับการตัดสินในงานประกวดครั้งนี้ครับ มาเิ่ริ่มกันเลยนะครับ
โรงแรมที่พัก |
สถานที่จัดงาน |
บริเวณหน้าทางเข้างาน |
แบ่งเป็นส่วนของปลาถุง และปลาบ่อ |
บ่อเป็นถังไฟร์เบอร์ |
![]() |
ทีมงานประชุมแบ่งงานกัน |
สถานที่จัดงานในครั้งนี้อยู่ในฮอลล์กว้างขวางมาก ติดแอร์เย็นฉ่ำ ปลาก็สดชื่น กรรมการตัดสินก็สดชื่นเดินตัดสินอย่างสบาย คนมาร่วมงานก็สดชื่น ดีจริงๆ ผมสังเกตุว่าไม่ว่าจะเป็นสถานที่ และทีมงานของเขาค่อนข้างพร้อมเอามากๆ มีการเตรียมตัววางแผนการจัดงานกันเป็นอย่างดี อาจจะเป็นเพราะว่าเขามีการจัดงานแค่ครั้งเดียวก็เป็นได้
แต่สิ่งที่ประทับใจผมมากที่สุดซึ่งมารู้ทีหลังคือ ทีมงานที่จัดงานทั้งหมดเป็นผู้เลี้ยง และผู้ที่ส่งปลาเข้าประกวดนั่นเองครับ ทุกคนมีหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน เลขาชมรมดูแลเรื่องการต้อนรับกรรมการและแขกที่มาร่วมงาน มีทีรับส่งดูแลกรรมการและแขก มีทีมรับปลาวันส่งปลา มีทีมอำนวยความสะดวกในการตัดสิน มีทีมประมวลผลการตัดสิน หากเป็นบ้านเราคงต้องเรียกว่าลงแขกร่วมกันจัดงานมากกว่า เขาบอกว่าเป็นงานของทุกๆ คนที่รักในปลาคาร์ฟที่นี่เป็นหน้าตาของชมรมเขาและประเทศทุกคนจึงเต็มใจที่จะ เสียสละและช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ครับน่าชื่นชมจริงๆ
![]() |
กรรมการทั้งหมดร่วมประชุมทำความเข้าใจก่อนการตัดสิน |
ก่อน เริ่มการตัดสินมีประชุมชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ที่กรรมการต้องทราบ เช่นจะตัดสินรางวัลไหนก่อนหลัง มีรางวัลอะไรบ้าง แต่ละรางวัลจะตัดสินปลาไซด์ไหน และ เนื่องจากมีปลาทั้งหมดจำนวนมากถึง747ตัว จึงต้องมีการแบ่งกรรมการการตัดสินออกเป็น 3 ทีม คือทีม A,B และ C ผม(Mr.S) อยู่ในทีม B กับคุณพัฒน์ (Leo) ร่วม กับกรรมจากZna ชาวญี่ปุ่น 2 ท่าน และจากสมาคมShinkokai คือฟาร์มไดนิชิ และฟาร์มมัสุโนซุเก ทำการตัดสินปลาไซด์ 35Bu 50BU 65BU และ 80Bu โดย มีทีมงานคอยพาไปดูปลาในแต่ละบ่อแต่ละประเภททำให้สะดวกมาก โดยเฉพาะปลาบ่อทีมงานเขาจะแจ้งให้ทราบว่าปลาไซด์ที่เราจะตัดสินนั้นแต่ละ ประเภทนั้นมีกี่ตัว และอยู่บ่อไหนบ้างพาเราเดินดูจนครบทุกตัวทุกประเภท
ปลา 5 ตัวที่คัดเลือกเข้าชิง GC |
กรรมการร่วมกันโหวตให้คะแนน |
![]() |
ลงคะแนนโดยเขียนใส่กระดาษโหวต |
![]() |
ผลคะแนนที่ออกมา |
Grand Champion |
เริ่มแรกต้วการตัดสินรางวัลใหญ่ที่สุดของงานนั้นคือรางวัล Grand Champion
โดยคัดเลือกจากปลาไซด์ 80BU และเกินกว่าไซด์ 80BU มาทั้งหมด 8 ตัว โดยเป็นปลาโคฮากุ 3 ตัว โชว่า 2 ตัว และซันเก้ 3 ตัว สวยๆ ทั้งนั้น
โดยคัดเลือกจากปลาไซด์ 80BU และเกินกว่าไซด์ 80BU มาทั้งหมด 8 ตัว โดยเป็นปลาโคฮากุ 3 ตัว โชว่า 2 ตัว และซันเก้ 3 ตัว สวยๆ ทั้งนั้น
ต่อ จากนั้นก็คัดออก 3 ตัว เหลือ 5 ตัว และกรรมการทุกท่านลงคะแนนลับใส่กระดาษ แล้วเปิดขานคะแนน ส่วนแทรนี่ดูเฉยๆ ให้รางวัลในใจตามไปด้วย โดยรางวัล Grand Champion ได้แก่ปลาโคฮากุจากซาไก เจ้าของเป็นชาวสิงค์โปร ครับ
หาก สังเกตุคะแนนดีๆ ก็จะเข้าใจว่าหากเป็นกรรมการที่มีประสบการณ์แล้วการตัดสินปลาที่ได้รางวัล ชนะเลิศย่อมจะเห็นไปในทางเดียวกันครับเรียกว่าไม่กระจัดกระจาย
ฝึกดูปลาและให้คะแนนตามไปด้วย |
ฝึกเหมือนกัน |
ต่อจาก นั้นผมและพัฒน์ ก็ทำหน้าที่เทรนีร่วมหาประสบการณ์ในการตัดสินปลาต่อครับ โดยหน้าที่แทรนีก็คือการฝึกหัดการตัดสิน โดยการที่ดูปลาแต่ละตัว แต่ละบ่อ แล้วฝึกให้คะแนนของเราไว้ในกระดาษ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับหัวหน้ากรรมการและกรรมทุกๆ ท่าน ว่าเราให้คะแนนปลาที่ได้รางวัลที่ 1 ที่2 และที่3 ได้ตรงตามกรรมการหรือไม่ ก็มีถูกบ้างผิดบ้าง ในระหว่าการตัดสินสามารถสอบถามข้อสงสัยได้ว่าตัวนี้ดูอย่างไร ทำไมให้ตัวนี้ชนะ ทำให้เรามีความรู้ทราบถึงวิธีการดูและตัดสินปลาในแต่ละประเภทมากขึ้น ปลาที่มีสีแดงเช่นโคฮากุ โชว่า ซันเก้ ควรดูความสม่ำเสมอของสีแดงมาก่อน แต่คุณภาพของดำและขาวก็อย่ามองข้าม ชิโร่ดูผิวขาวมาก่อนได้เปรียบครับ ปลาเงาดูความเงานำ ปลาโกโรโมะและโงชิกิดูแดงและเกล็ดสีน้ำเงิน อาซากิซูซุยดูเกล็ดสีน้ำเงินและแดงเป็นตัวเสริม ปลาเล็กลวดลายเล้าใจโดนใจมานำคุณภาพก็สำคัญ ปลาใหญ่หุ่นนำมาคุณภาพและลวดลายเป็นตัวเสริม หากคุณเข้าใจในคุณภาพของปลาแล้วละก็รางวัลก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ปลาเล็กก็ต้องเสร็จตัวผู้เนื่องจากจะพร้อมเร็วกว่าปลาตัวเมีย หากคุณเอาปลาตัวเมียมาส่งก็ยากที่จะสมหวัง ปลาใหญ่ก็ต้องตัวเมียมีหุ่นที่สวยสมบูรณ์กว่าตัวผู้ ปลาแต่ละตัวเหมาะสมกับการส่งประกวดได้ในแต่ละไซด์นะครับไม่มีปลาตัวไหนลอง ครับที่สวยในทุกๆ ไซด์สามารถส่งประกวดได้ตั้งแต่ปลาเล็กจนถึงไซด์จัมโป้ได้นะครับ
การเป็นเทรนนีของผมในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกว่า
เหนือกว่าคนอื่นๆ เลย
แต่กลับทำให้ผมรู้ตัวว่าผมโง่ ต้องศึกษาหาความรู้ให้เข้าใจในเรื่องต่างๆอีกมาก ปลาคาร์ฟเรียนเท่าไรก็ไม่จบ ต้องขอบคุณอ.ชัย และเพื่อนๆ พี่ๆ ที่รักในkoi เหมือนกันร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์กันในเวปเสมอๆ ครับ
เนื่อง จากงานในครั้งนี้มีกรรมการทั้งในส่วนของ ZNA ซึ่งจะตัดสินเน้นปลาที่พร้อมสวยสมบูรณ์ ณ วันที่ประกวด และ Shinkokai ซึ่งจะเน้นเรื่องหุ่น และลวดลายของปลา ทำให้ระหว่างการตัดสินมีการให้ความเห็นที่แตกต่างกันบ้าง แต่ทุกๆ รางวัลก็จะมีการโหวตโดยยกมือหากมีคะแนนเท่ากันหัวหน้ากรรมการก็จะเป็นผู้ ตัดสินครับ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันและให้เกียรติซึ่งกันและกันน่า ชื่นชม สิ่งที่ผมเห็นอีกอย่างหนึ่งที่นี่ก็คือปลาที่ส่งประกวดส่วนใหญ่มีการเตรียม ตัวคอดิชั่นมาเป็นอย่างดีก่อนถึงงานประกวด ปลาเล็กก็ดองจนสีแน่นขาวดำแดงสมบูรณ์ ปลาใหญ่ก็ล่ำยั่งกับหมอนข้าง แสดงถึงความตั้งใจจริงๆ ในการทำปลาส่งประกวดจริงๆ
พิธีกรในงาน |
การแสดงตีกลองของเด็กน่ารักมาก |
เจ้าของรางวัล Grand Champion |
วันที่สองมีพิธีมอบรางวัล ซึ่งจัดได้อย่างยิ่งใหญ่ มีการแสดงของเด็ก การประมูลปลา และการมอบรางวัลให้กับผู้รับรางวัล โดยให้เกียรติกับผู้ที่ได้รับรางวัลมาก
MR.S ,พี่โป้ง ,เลขาชมรมของ Malaysia ,คุณLeo ,พี่Kingkong ,พี่ Tao คณะคนไทย |
ถ่ายรูปร่วมกับ DavidSoon และ Mr.Paul Hool (PH8) แห่งwww.koi.com.my/ |
ขอบคุณเพื่อนๆ ทีมงานจัดงานMalaysia Koi Show ในครั้งนี้ที่ต้อนรับดูแลเป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบปะพูดคุยกันมาก่อน นั้นคงเป็นเพราะความรัก Koi เหมือนๆ กันจึงทำให้เราเป็นเพื่อนกันได้ทุกๆคน ทุกๆกลุ่ม ทุกๆภาค และทุกๆประเทศ